ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex)
ทรันโนซอรัส (ชื่อวิทยาศาสตร์Tyrannosaurusเสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /tɨˌrænɵˈsɔrəs หรือ taɪˌrænɵˈsɔrəs/; แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์Tyrannosaurus rex; rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที. เรกซ์ (T. rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส
ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ แต่มันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 12.3 ม.[1] สูง 4.6 ม. จากพื้นถึงสะโพก[2] และมีน้ำหนักถึง16-18 ตัน[3] ในยุคสมัยของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆนั้น ไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในทวีปอเมริกาเหนือ เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์ และ เซอราทอปเซีย เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทแรนโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานานมากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา ปัจจุบัน ทีเร็กซ์นั้นสามารถ ล่าเหยื่อตัวเดียว ล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัว และกินซาก แน่นอนรวมถึงไดโนเสาร์นักล่าทุกชนิด ที่ล้วนแล้วก็มีโอกาสเป็นนักกินซากได้ทั้งหมด
ไทแรนโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยฐานะไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุด ก่อนจะเสียอันดับให้ คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ จิกแกนโนโตซอรัส และ สไปโนซอรัส

ไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ชื่อซู (Sue) เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.3 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร โดยตั้งชื่อมาจากซูฃานนักธรณีวิทยาที่ค้นพบ[4] ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก ในปี 2549

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ไดมอร์โฟดอน

เทอราโนดอน