บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2019

ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์

รูปภาพ
ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus Rex) ไ ทรันโนซอรัส  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Tyrannosaurus ;  เสียงอ่านภาษาอังกฤษ:  /tɨˌrænɵˈsɔrəs หรือ taɪˌrænɵˈsɔrəs/ ; แปลว่า  กิ้งก่าทรราชย์  มาจาก ภาษากรีก ) เป็น สกุล หนึ่งของ ไดโนเสาร์ ประเภท เทอโรพอด  ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ  ไทแรนโนซอรัส เรกซ์  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Tyrannosaurus rex ; rex แปลว่า  ราชา  มาจาก ภาษาละติน ) หรือเรียกอย่างย่อว่า  ที. เรกซ์  ( T. rex ) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่า ไดโนเสาร์ วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียส ตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่ม

เทอราโนดอน

รูปภาพ
 เทอราโนดอน (Pteranodon) เทอราโนดอน จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภท เทอโรซอร์  (กิ้งก่ามีปีก ที่มีมากกว่า 200สายพันธุ์) ลักษณะ มีหงอนแข็งอยู่บริเวณหัว เมื่อกางปีแล้วจะมีขนาดยาวกว่า 6 เมตร น้ำหนักที่ต่ำสุดคือ 20 กิโลกรัม สูงสุดที่ 93 กิโลกรัม  บริเวณปีกมีพังผืดแบบเดียวกับปีกของค้างคาว มักอาศัยตามหน้าผาสูง    กินปลาเป็นอาหาร อาศัยอยู่บริเวณอเมริกาเหนือและยุโรป ลักษณะนิสัยของมันมักจะก้าวร้าวฉุนเฉียวตลอดเวลา สืบทอดเผ่าพันธุ์และครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 162 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปทั้งหมดในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลายเช่นเดียวกับไดโนเสาร์  นอกจากนี้   นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลื้อยคลานที่มีปีกและลักษณะใกล้เคียง  ในยุคจูราสสิค มี เทอโรซอร์   พันธุ์ เคตซัลโคแอตลัส นอร์โทรพี ที่คาดว่าจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยขนาดของมันเทียบเท่า เครื่องบินรบเอฟ-16 น้ำหนักตัวถึง 200 กิโลกรัม   และเชื่อว่าชอบที่จะกินลูกโดโนเสาร์เป็นอาหาร  

โมซาซอรัส

รูปภาพ
โมซาซอรัส (Mosasaurus) โมซาซอร์ ( อังกฤษ :  Mosasaur ) ความหมายชื่อคือ "ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์"เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์ Mosasauridae ที่เคยมีชีวิตอยู่ปลาย ยุคครีเทเชียส  เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู ( Squamata) ที่รู้จักกันว่า aigialosaurs ช่วงต้นยุค และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับ งู โมซาซอร์เป็นญาติห่างจากไลโอพลัวเรอดอนแต่โมซาซอร์ยาวกว่ามากและโมซาซอร์อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนี้มีระดับน้ำทะเลสูง เรียกว่าน้ำทะเลไปถึงไหนเจ้าสัตว์กลุ่มนี้ก็ไปถึงนั่น ดังจะเห็นได้จากมีการค้นพบฟอสซิลในหลายพื้นที่ ทั้งในอเมริกาเหนือ ได้แก่ แคนาดาและสหรัฐ ที่พบในหลายรัฐซึ่งเคยเป็นเส้นทางทะเล นอกจากนี้ยังพบในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะเวกานอกชายฝั่ง ขั้วโลกใต้  โดยพบฟอสซิลครั้งแรกในเขตเหมืองหินปูนในเมืองมาสตริกช์ของเนเธอร์แลนด์ ปี 1764 และจากฟอสซิลที่ค้นพบทำให้แบ่งสัตว์กลุ่มนี้ได้ 4 วงศ์ย่อยคือ Hal

อินโดไมนัส เร็กซ์

รูปภาพ
อินโดไมนัส เร็กซ์ (Indominous Rex) อินโดไมนัส เร็กซ์  ( อังกฤษ :  Indominus Rex ) เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่มีอยู่จริง แต่ถูกสร้างขึ้นมาในภาพยนตร์เรื่อง  Jurassic World  ซึ่งเข้าฉายในปี 2015 โดยมันเป็นตัวเด่นในหนัง มันถูกสร้างขึ้นมาจากไดโนเสาร์ล่าเนื้อพันธุ์โหดหลายชนิด เช่น  ไทแรนโนซอรัส , วิลอซิแรปเตอร์ , เทอริซิโนซอรัส , คาร์โนทอรัส , มาจันกาซอรัส , รูกอปส์ , จิกแกนโนโตซอรัส  และสัตว์ในยุคปัจจุบันอีกหลายชนิด เช่น  งูหางกระดิ่ง ไม่ทราบสายพันธุ์, กบต้นไม้ , หมึกกระดอง  และ สัตว์ในปัจจุบันอื่นๆที่ยังไม่ได้ระบุไว้ อินโดไมนัส เร็กซ์ ถูกสร้างขึ้นภายใต้การนำของดร.เฮนรี วู นักพันธุศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังการแสกให้เหล่าไดโนเสาร์กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แม้ภายนอกของอินโดไมนัส เร็กซ์ จะคลายคลึงกับทีเร็กซ์ ไดโนเสาร์สุดโหดเจ้าปัญหาของ Jurassic Park ทว่าลักษณะส่วนหัวของมันและปุ่มตามผิวหนังที่คล้ายกระดูกนั้นกลับถูกนำมาจากเหล่าเทอโรพอด กลุ่มไดโนเสาร์ยุคครีเตเชียสอย่างกลุ่มเอบิลิซอร์ที่เป็นสัตว์กินเนื้อ ซึ่งมีความแข็งแกร่ง ความทนทานและฉลาดเป็นที่สุด นอกจากหน้าตาจะน่ากลัวแล้ว ทางผู้สร้างยังใส่ “เขา” ให้เจ้าอิ

แกลลิไมมัส

รูปภาพ
 แกลลิไมมัส (Gallimimus) แกลลิมิมัส (Gallimimus)  ชื่อมีความหมายว่าไก่จำแลง วิ่งเร็ว มีลักษณะคล้าย นกกระจอกเทศ  อาศัยอยู่ในช่วงปลาย ยุคครีเทเชียส  ช่วง 70-65 ล้านปีก่อน มีความสูง 1.9 เมตร ความยาว 6 เมตร หนัก 440 กิโลกรัม ฟอสซิลถูกค้นพบที่ประเทศ มองโกเลีย   ทวีปเอเชีย  เป็นที่รู้จักจาก ภาพยนตร์ เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ แกลลิมิมัสมีคอที่ค่อนข้างยาว ขายาวและแข็งแรง แถมยังมีหางที่ช่วยรักษาสมดุล จึงเหมาะกับการวิ่ง ซึ่งเวลาเจอไดโนเสาร์กินเนื้อพวกมันก็ต้องวิ่งหนีอย่างเดียว เพราะมันไม่มีฟันหรือเล็บคมๆไว้ป้องกันตัว เวลาวิ่งสามารถทำความเร็วได้ถึง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กะโหลกศีรษะ เครือญาติ [ แก้ ] แกลลิมิมัสเป็นญาติกับ ออร์นิโทไมมัส  ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ถูกพบคนละที่ โดยออร์นิโทไมมัสถูกพบที่ ทวีปอเมริกาเหนือ  ส่วนแกลลิมิมัสถูกพบที่ ทวีปเอเชีย  คาดว่าแกลลิมิมัสมีญาติอยู่ที่ ประเทศไทย คือ  กินรีไมมัส ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์ ในวัฒนธรรมสมัยนิยม [ แก้ ] แกลลิมิมัสปรากฏตัวในภาพยนตร์ชุด จูราสสิค พาร์ค โดยปรากฏครั้งแรกใน จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่

เอ็ดมอนโตซอรัส

รูปภาพ
 เอ็ดมอนโตซอรัส (Edmontosaurus) เอ็ดมอนโตซอรัส  ( อังกฤษ :  Edmontosaurus ) เป็นพวก ไดโนเสาร์ ปากเป็ดชนิดหนึ่ง  ฟอสซิล ของมันพบใน ทวีปอเมริกาเหนือ  อาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียส ตอนปลาย เมื่อประมาณ 73 ล้านปี ถึง 65 ล้านปีก่อน มันเป็นเหยื่อของนักล่าอย่าง ไทรันโนซอรัส และอยู่ร่วมยุคกับ ไทรเซอราทอปส์  เอ็ดมอนโตซอรัส เป็นหนึ่งในพวก แฮดโดรซอร์ริเด  (ไดโนเสาร์ปากเป็ด) ที่ใหญ่ที่สุด ความยาวของมันวัดได้ถึง 13  เมตร  (43 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 4.0  ตัน มันเป็นที่รู้จักกันจากตัวอย่างฟอสซิล ที่มีสภาพสมบูรณ์ มันมีญาติอย่าง อนาโตไททัน  ( อังกฤษ :  Anatotitan ) ซึ่งอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ฟอสซิลชิ้นแรกของมัน ถูกค้นพบในภาคใต้ ของ รัฐอัลเบอร์ตา   ประเทศแคนาดา  ในปี 1917 เอ็ดมอนโตซอรัส มีชื่อก่อนหน้านี้ว่า annectens ซึ่งตั้งโดย  โอลเนียท ชาล มาร์ช ในปีค.ศ. 1892 เอ็ดมอนโตซอรัส อาศัยกระจายอย่างเป็นวงกว้างในแถบ อเมริกาตะวันตก  การกระจายตัวของ ซากดึกดำบรรพ์ แสดงได้ว่ามันอาศัยอยู่แถบราบชายฝั่ง มันเป็นสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหารที่สามารถยืนได้ทั้ง 2 ขา และ 4 ขา และมันอยู่ร่วมกันเป็นฝูงและมีการอพยพจากที่ห

ไดมอร์โฟดอน

รูปภาพ
ไดมอร์โฟดอน (Dimorphodon) ยูดิมอร์โฟดอน (Eudimorphodon) เป็น เทอโรซอร์ ชนิดหนึ่ง ถูกค้นพบในปี 1973 โดย Mario Pandolfi ที่เมืองเบอร์กาตา  ประเทศอิตาลี  และอธิบายในปีเดียวกันโดย Rocco Zambelli โครงกระดูกที่สมบูรณ์ครั้งแรกของมัน ถูกดึงมาจากหินดินดานฝากในช่วง ยุคไทรแอสสิค  ทำให้ ยูดิมอร์โฟดอนกลายเป็นเทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุด . มันกางปีกได้ประมาณ 100 ซม. (3.3 ฟุต) และปลายหางกระดูกที่ยาวอาจใช้เพื่อทำให้มันบินได้เร็วขึ้น และถ่วงน้ำหนักตัว อย่างแรมโฟริงคัส ยูดิมอร์โฟดอน ในปัจจุบันนี้เราพบฟอสซิลของมัน 2 สปีชีส์ สปีชีส์ที่1คือ E. ranzii ได้อธิบายครั้งแรกโดย Zambelli ในปี 1973 สปีชีส์ที่สอง คือ E. rosenfeldi ถูกตั้งชื่อโดย Dalla Vecchia ในปี 1995 สำหรับสองตัวอย่างที่พบในอิตาลี

อะแพโทซอรัส

รูปภาพ
  อะแพโทซอรัส (Apatosaurus) ชื่อ : Apatosarus (อะแพโทซอรัส หรือ บรอนโตซอรัส) ยุค : จูราสสิค ขนาด : ุ23-26 m น้ำหนัก : 1ุ6-22 tonn ถิ่นกำเนิด : อเมริกาเหนือ อะแพทโทซอรัส หรือ อะแพตโตซอรัส (อังกฤษ: Apatosarus) หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม" อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19

บารีโอนิกซ์

รูปภาพ
  บารีโอนิกซ์ (Baryonyx)  บารีโอนิกซ์   (Baryonyx)   เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่อยู่ใน วงศ์สไปโนซอร์   มีถิ่นกำเนิดที่ อังกฤษ   บารีโอนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่     ใหญ่กว่าเล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโดเทส ที่ กระเพาะอาหาร ของมันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็น     อาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน แต่อย่างไรก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่นๆ และกระทั่งลูกของมันเอง มันมีความยาวประมาณ 10.5 เมตร อาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียส ตอนต้น ประมาณ 120 ล้านปีก่อน

แองคิโลซอรัส

รูปภาพ
 แองคิโลซอรัส (Ankylosaurus)  แองคิโลซอรัส  ( อังกฤษ : Ankylosaurus) เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล   แองคิโลซอร์  ( อังกฤษ : ankylosaurid) อาศัยอยู่ใน ยุคครีเตเชียส   ในทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูกของ แองคิโลซอรัส ยังไม่      สมบูรณ์ แองคิโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะในแบบสกุล   แองคิโลซอร์ ที่มีน้ำหนักตัวหนักมีเกราะแข็งหุ้มทั่วทั้งตัว และมีลูกตุ้ม      ขนาดใหญ่สำหรับไว้ป้องกันตัวจากนักล่าในยุคนั้นอย่าง   ไทรันโนซอรัส   และ   ทาร์โบซอรัส   ที่บริเวณหาง       ลักษณะ     นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความยาวของ แองคิโลซอรัส ประมาณ 6.25 (20 ฟุต) - 9 เมตร ( 30 ฟุต) ความสูงถึงสะโพก 1.7 แมตร          ( 5.5 ฟุต) มีน้ำหนักตัว 6 ตัน มีรูปร่างลำตัวที่กว้างมาก ขาหลังยาวกว่าขาหน้า มีกระดูกยื่นออกมาจากร่างกายเป็นเกราะป้องกันตัว          ชั้นดี กินพืชเป็นอาหาร มีฟันขนาดเล็กไว้สำหรับบดเคี้ยวพืช ปากมีลักษณะคล้ายนกแก้ว      ลูกตุ้มขนาดใหญ่         ลูกตุ้มขนาดใหญ่ของ แองคิโลซอรัส เป็นส่วนกระดูกที่ยื่นออกมาจากหาง โดยมีกระดูกสั้นหลังส่วนบริเวณหางข้อที่เจ็ดรองรั